อันตรายของจัดฟันแฟชั่น คลิกที่นี่ครับ.
ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทางด้านทันตกรรมจัดฟัน (Orthodontist) คือทันตแพทย์ที่ได้รับการศึกษาต่อเฉพาะทางจัดฟัน จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่มีหลักสูตรอย่างน้อย 2 ปี และได้รับการรับรองจาก ก.พ.
เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาความผิดปกติในการสบฟัน ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทางด้านทันตกรรมจัดฟันที่เป็นสมาชิกของสมาคม ทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย
มีชื่ออยู่ในรายชื่อดังนี้ รายชื่อสมาชิกของสมาคมทันตแพทย์จัดฟันบน web มีเพื่อให้ผู้ป่วยตรวจดูด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามทางสมาคมไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาล หรือรายชื่อทันตแพทย์จัดฟันในแต่ละแหล่งที่จะให้ได้ การเลือกสถานพยาบาลจึงขอให้ผู้ป่วยพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ประกอบกัน เช่นค่าใช้จ่าย ความสะดวกในการเดินทาง และทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา เป็นต้น โดยทั่วไปสถานพยาบาลของรัฐจะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าคลินิกเอกชนแต่อาจจะไม่ สะดวกในการเดินทางและเวลาที่ต้องรอคอยบริการ คณะทันตแพทย์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รับให้การรักษาโดยคำนึงถึงหลักวิชาการเป็นสำคัญและมีค่าใช้จ่ายไม่มาก เป็นต้น
ทันตแพทย์ทั่วไปดูแลทันตสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยโดยการตรวจเช็คฟัน และขูดหินปูนเป็นระยะ
หาก ตรวจความผิดปกติในการสบฟัน ทันตแพทย์จะส่งผู้ป่วยมารับคำปรึกษาและการรักษาจากทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา ทางด้านทันตกรรมจัดฟัน อย่างไรก็ตามหากทันตแพทย์ทั่วไปจะให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันแก่ผู้ป่วย ก็สามารถทำได้ตามกฎหมาย หากแต่ต้องพิจารณาในการรักษาเฉพาะในกรณีที่เหมาะสมที่ทันตแพทย์ผู้นั้นมี ความรู้ความสามารถที่จะทำได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ตอบ การที่จะเริ่มให้การบำบัดรักษาทางทันตกรรมจัดฟันเมื่ออายุเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับ
ตอบ ผลที่อาจเกิดขึ้นมีหลายประการ ดังนี้
ตอบ เครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดรักษาทางทันตกรรมจัดฟันแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประการ คือ เครื่องมือชนิดติดแน่น ซึ่งจะเป็นโลหะที่ติดอยู่บนซี่ฟัน ตลอดช่วงเวลาของการบำบัดรักษา และเครื่องมือชนิดถอดได้ ซึ่งคนไข้สามารถถอดออก และใส่ได้เอง ซึ่งเครื่องมือแต่ละชนิดก็จะให้ผลในการบำบัดรักษาที่แตกต่างกัน การใช้เครื่องมือชนิดใด ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาตัดสินใจของทันตแพทย์จัดฟันถึงความจำเป็นและความ เหมาะสมของเครื่องมือแต่ละชนิด
ตอบ การบำบัดรักษานั้นจะยาวนานเท่าใด ขึ้นอยู่กับ ความผิดปกติที่ต้องการแก้ไขและความร่วมมือของคนไข้ หากคนไข้ให้ความร่วมมือดีผลการบำบัดรักษาก็จะออกมาดีและใช้ระยะเวลาสั้น แต่การรักษาโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี
ตอบ โดยทั่วไปคนไข้จะต้องไปพบทันตแพทย์จัดฟัน ทุก 3-5 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับช่วงของการบำบัดรักษา
ตอบ ฟันที่ได้รับการบำบัดรักษาทางทันตกรรมจัดฟันก็เหมือนฟันปกติทั่วไป ซึ่งหากทำความสะอาด อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึงแล้วก็ไม่มีโอกาสที่จะผุ
ตอบ โดยทั่วไปมักจะแนะนำให้คนไข้จัดฟันแปรงฟันและทำความสะอาดฟันหลังอาหารทุกมื้อ
ในกรณีที่ใช้เครื่องมือชนิดถอดได้ ก็ให้ทำความสะอาดเครื่องมือด้วยยาสีฟันและแปรงสีฟันร่วมด้วย นอกจากนี้ก็ควรงดเว้นอาหารรสหวานจัด หรือติดฟัน ในรายที่ใช้เครื่องมือ ชนิดติดแน่น ควรงดเว้นอาหารกรอบและแข็ง เช่น ถั่วต่าง ๆ , น้ำแข็ง เพราะมีโอกาสที่จะทำให้เครื่องมือ ที่ติดอยู่กับฟันหลุดออก อันจะมีผลให้ การบำบัดรักษายุ่งยากและไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ตอบ ทุกครั้งที่มีการปรับหรือเปลี่ยนลวดที่ใช้ในการจัดฟัน คนไข้จะรู้สึกตึง หรือเจ็บบ้าง ในช่วงสัปดาห์แรก ของการปรับเปลี่ยนลวดจัดฟัน แต่หากรู้สึกเจ็บปวดรุนแรงผิดปกติควรกลับไปพบทันตแพทย์จัดฟันผู้ให้การบำบัด รักษาทันที
ตอบ ค่าใช้จ่ายในการจัดฟันนั้น จะแตกต่างกันไปบ้างขึ้นกับชนิด ของการบำบัดรักษา
และระยะเวลาในการบำบัดรักษา ทั้งนี้คนไข้ควรสอบถาม และตกลงถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมด และวิธีในการชำระค่าใช้จ่ายจากทันตแพทย์จัดฟันผู้ให้การบำบัดรักษา ก่อนที่จะเริ่มต้นการบำบัดรักษา
การจัดฟัน (Orthodontics) เป็นสาขาหนึ่งในทางทันตกรรม ที่ให้การวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาความผิดปกติ ของการเรียงฟัน และการสบฟัน รวมทั้งปัญหาความผิดปกติของขนาดและความสัมพันธ์ของขากรรไกรต่อใบหน้า
การจัดฟัน เป็นการรักษาเพื่อให้มีการสบฟันที่ดีขึ้น เพื่อการบดเคี้ยวอาหารที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดอัตราเสี่ยงในการเกิดฟันผุหรือโรคเหงือกอันเนื่องมาจากความลำบากในการทำความสะอาดฟันและเหงือก ในบริเวณที่ฟันเรียงตัวผิดปกติ หลีกเลี่ยงการเกิดการสึกของฟันที่ผิดปกติจาการเรียงฟันหรือสบฟันที่ไม่เหมาะ สม นอกจากนี้ยังอาจช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพจากการที่มีฟันเรียงกันสวยงาม
มีสาเหตุหลัก 2 ประการคือ กรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อม
สาเหตุทางกรรมพันธุ์ เกิดจาการถ่ายทอดลักษณะของฟัน, จำนวนซี่ฟัน, และขนาดและตำแหน่งของขากรรไกร
จากพ่อแม่มายังลูก ได้แก่ ฟันหาย ฟันเกิน ความไม่สัมพันธ์กันระหว่างขนาดฟันและขนาดของขากรรไกร เช่น ฟันที่มีขนาดใหญ่ในขากรรไกรที่เล็ก จะทำให้เกิดความซ้อนเกของฟัน หรือในทางกลับกัน ฟันที่เล็กแต่มีขากรรไกรใหญ่จะเกิดช่องห่างระหว่างฟันได้ นอกจากนี้ความผิดปกติของการสบฟันที่เกิดจาก ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่นปากแหว่งเพดานโหว่ มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่นกัน
สาเหตุทางสิ่งแวดล้อม เช่น การมีนิสัยผิดปกติ เช่น ดูดนิ้ว, หายใจทางปาก, การดุนฟันจากลิ้น, การสูญเสียฟันและไม่ได้ทดแทนทำให้ฟันข้างเคียงล้ม หรือ การเกิดอุบัติเหตุบริเวณใบหน้า ก็สามารถทำให้เกิดความผิดปกติของการสบฟันได้
ลักษณะที่พบได้บ่อย ๆ ได้แก่ ฟันซ้อนเก, ฟันยื่น, ฟันห่าง, ฟันสบลึก, ฟันสบเปิด, ฟันล่างคร่อมฟันบน
การจัดฟันนั้นสามารถทำได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจการสบฟันจากทันตแพทย์ทั่วไปหรือทันตแพทย์ประจำ และได้รับการส่งต่อมายังทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทางด้านทันตกรรมจัดฟันทันที ที่สังเกตุพบปัญหาการสบฟัน การจัดฟันส่วนใหญ่มักเริ่มทำในเด็กมีฟันแท้ขึ้นเกือบครบ คืออายุประมาณ 11-13 ปี อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาการสบฟันบางอย่างสามารถทำในช่วงฟันผสม เพื่อลดความรุนแรงของปัญหาหรือเพื่อป้องกันการไม่ให้เกิดการพัฒนาไปเป็นความ ผิดปกติที่มีความรุนแรงขึ้น เช่นการจัดฟันหน้าบางส่วนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกระทบกระแทกต่อ ฟันในกรณีที่ฟันหน้าบนยื่นมาก ๆ การจัดฟันในชุดฟันผสมมักเป็นการรักษาระยะสั้น และเป็นการจัดฟันบางส่วนเท่านั้น เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะฟันแท้ ส่วนใหญ่จะจำเป็นต้องได้รับการจัดฟันทั้งปากต่อไป
ทันตแพทย์จะถ่ายซักถามประวัติ, ตรวจในช่องปาก, เอ็กซ์เรย์ฟันทั้งปากและศรีษะ, พิมพ์ปากทำแบบจำลองฟัน และอาจถ่ายรูปฟันและใบหน้า เพื่อเป็นข้อมูลในการวินิฉัยและวางแผนการรักษา ประเมินเวลา และค่าใช้จ่าย ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและผู้ปกครอง (กรณีผู้ป่วยเด็ก) ได้เลือกแผนการรักษา ถ้ามีแผนที่เป็นไปได้มากกว่า 1 แผน และซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ การปรึกษารวมทั้งการทำประวัติดังกล่าวมิได้เป็นการผูกมัดผู้ป่วย หากผู้ป่วยต้องการคำแนะนำจากทันตแพทย์ท่านอื่นสามารถนำเอ็กซ์เรย์ และแบบจำลองฟันไปได้ ผู้ป่วยควรศึกษาและสอบถามถึงแผนการรักษา รายละเอียด ผลข้างเคียง และผลการรักษาที่คาดหมายอย่างละเอียด ก่อนเริ่มจัดฟัน
ก่อนรับการจัดฟัน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจช่องปาก หากมีฟันผุจะต้องอุดให้เรียบร้อย และขูดหินปูนให้สะอาด หากมีโรคเหงือกจะต้องได้รับการรักษาจนถึงระดับที่ควบคุมโรคเหงือกได้ ระหว่างการจัดฟัน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจและทำความสะอาดฟันเป็นระยะ ๆ โดยทันตแพทย์ประจำตัว อย่างน้อยทุก 6 เดือน การขูดหินปูนระหว่างจัดฟันด้วยเครื่องมือติดแน่นสามารถทำได้โดยไม่ต้องถอด เครื่องมือออก
ทำไมต้องถอนฟัน
ในกรณีที่ฟันซ้อนเกมากหรือฟันยื่นมาก การถอนฟันจะทำให้มีช่องว่างเพื่อที่จะเรียงฟันที่ซ้อนเก และหรือดึงฟันเข้าเพื่อลดความยื่น โดยช่องที่เกิดจากการถอนฟันเพื่อจัดฟันจะถูกใช้ไปให้หมด โดยไม่ต้องใส่ฟันปลอม ฟันที่มักถูกถอนเพื่อประโยชน์ในการจัดฟันมักเป็นฟันกรามน้อยที่อยู่หลังฟัน เขี้ยว อย่างไรก็ตามซึ่งฟันบางซี่ที่อาจจะไม่เอื้ออำนวยความสะดวกในการดึงฟันที่เก นัก แต่มีปัญหา เช่นฟันที่ผุมาก
ฟันที่มีวัสดุอุดใหญ่ หรือฟันที่รูปร่างผิดปกติ ทันตแพทย์อาจจะพิจารณาถอนฟันเหล่านี้แทน เพื่อเก็บฟันที่ดีที่สุดไว้ แต่ทั้งนี้การรักษาอาจจะใช้เวลายาวนานขึ้นกว่าปกติ หรือ อาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษเพิ่มในการรักษา
การเปลี่ยนแปลงรูปหน้าหลังการจัดฟัน เกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่อไปนี้ประการใดสาเหตุหนึ่งหรือร่วมกัน
1. การเจริญเติบโตของใบหน้าและขากรรไกร ซึ่งเติบโตมากในช่วงวัยรุ่น และโตเต็มที่เมื่อ
อายุประมาณ 14-16 ปีในผู้หญิง และ ประมาณ 18 ปีในผู้ชาย
ขนาดของขากรรไกรถูกกำหนดโดยพันธุกรรมเป็นส่วนใหญ่ การจัดฟันด้วยเครื่องมือมีผลต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกรในช่วงที่ยังโตไม่ เต็มที่ จะสามารถยับยั้งหรือกระตุ้นการเจริญของขากรรไกรบนได้เล็กน้อย หลังจากช่วงวัยรุ่นไปแล้ว ใบหน้าและขากรรไกรไม่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่บริเวณจมูกและคางจะยังยื่นขึ้นได้เล็กน้อยเมื่ออายุมากขึ้น
2. การเคลื่อนฟัน เนื่องจากฟันหน้าเป็นส่วนพยุงริมฝีปากไว้ ดังนั้น การเคลื่อนฟันหน้าไปด้านหน้าหลังจะมีผลต่อรูปปากได้ เช่น การถอนฟันและดึงฟันหน้าไปข้างหลังจะมีผลทำให้ริมฝีปากยุบลง
3. การผ่าตัดขากรรไกร สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างของขากรรไกรได้อย่างเด่นชัด
โดยทั่วไปการรักษาด้วยเครื่องมือติดแน่นใช้เวลาประมาณ 2 ปี ขึ้นกับความรุนแรงของปัญหา, การเจริญเติบโตของขากรรไกรของผู้ป่วย รวมถึงความร่วมมือของผู้ป่วย เพราะการจัดฟันนั้นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยเป็นหลักในการรักษาความ สะอาดฟัน ดูแลเครื่องมือที่ใช้ และการใส่หนังยางดึงฟันตามที่ทันตแพทย์แนะนำ เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของการสบฟันที่ผิดปกติ, เครื่องมือที่ใช้, ระยะเวลาในการรักษา และสถานพยาบาลที่ไปรับการรักษา เช่นโรงพยาบาลของรัฐ จะมีค่ารักษาน้อยกว่าคลินิกเอกชน หากมีการผ่าตัดขากรรไกร ค่ารักษาก็จะสูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดและค่ารักษาตัวในโรงพยาบาล ค่ารักษาสามารถชำระเป็นส่วน ๆ ได้ ตามแต่นโยบายของแต่ละสถานพยาบาล ผู้ป่วยสามารถสอบถามได้ก่อนเข้ารับการปรึกษา
ค่าใช้จ่ายในการจัดฟันนั้นไม่ครอบคลุมถึงค่าอุดฟัน ขูดหินปูน ก่อนและระหว่างจัดฟัน และค่าใช้จ่ายในการถอนฟันหากจำเป็นต้องถอนในแผนการรักษา
การรักษาต่างๆไม่ว่าในทางการแพทย์หรือทางทันตกรรม ย่อมมีปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นก่อนตัดสินใจรับการรักษา ผู้ป่วยจึงควรรับทราบและพิจารณาผลเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นดังต่อไปนี้
ฟันแต่ละซี่ก็เหมือนตู้โบกี้รถไฟ เวลาติดแบร็กเก็ตหรือแบนด์บนฟันแต่ละซี่ ก็เหมือนติดล้อไว้ที่ตู้โบกี้แต่ละตู้ จะได้มีอะไรที่ใช้จับฟันให้เคลื่อนได้ ลักษณะแบร็กเก็ตก็เหมือนล้อรถไฟที่มีร่องตรงกลางให้เลื่อนไปตามรางรถไฟ หรือลวด เวลาติดแบร็กเก็ตจะติดตรงกลางฟันตรงที่แบร็กแก็ตควรจะอยู่ ดังนั้นถ้าฟันเกมาก ก็จะเห็นแบร็กเก็ตที่เพิ่งติด ขึ้น ๆ ลง ๆ เป็นงูเลื้อย ลวดเปรียบเหมือนรางรถไฟแตกต่างที่ตอนแรก จะใช้ลวดนิ่ม ๆ เส้นเล็ก ๆ ใส่ลงไปตามร่องของแบร็กเก็ต ให้ฟันเรียงกันก่อน ฟันเลื่อนได้จากความสปริงตัวของลวด อาจใช้ยางสีกลม ๆ คล้อง หรือใช้ลวดเส้นเล็ก ๆ มัดกันไม่ให้ลวดเลื่อนหลุดออกจากแบร็กเก็ตเวลาฟันเลื่อน เมื่อฟันเริ่มเรียงตรงกันในแนวบน-ล่าง ก็เริ่มใช้ลวดเส้นใหญ่ขึ้นแข็งขึ้น จากนั้นก็ใช้ยางที่เป็นลักษณะคล้ายโซ่ ดึงฟันโดยแบร็กเก็ตจะเลื่อนไปตามลวดไปในช่องที่ถอนฟันไว้ เหมือนการเลื่อนตู้รถไฟไปตามรางรถไฟ จะเลื่อนทีละซี่ หรือเลื่อนเป็นกลุ่มฟันก็ได้ การเคลื่อนฟันไปตามลวด จะมีความฝืดของลวดที่เสียดสีแบร็กเก็ตเป็นปัจจัยสำคัญ บางครั้งจึงใช้ลวดที่ดัดขึ้นพิเศษเพื่อใช้ในการเคลื่อนฟันไปในทิศทางที่ต้องการ
เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นที่มีสีเหมือนฟันเพื่อความสวยงาม ทำด้วยพลาสติก หรือเซรามิค ทำให้มองเห็นโลหะน้อยลง แต่ยังคงเห็นเส้นลวดที่เป็นโลหะ ข้อเสียของแบร็กเก็ตพลาสติกคือ ราคาแพงกว่าโลหะ สึกง่าย ส่วนแบบเซรามิค นอกจากราคาแพงแล้ว จะเปราะ และจะทำให้ฟันสึกหากฟันตรงข้ามสบโดนแบร็กเก็ต จึงไม่นิยมใช้ในฟันหน้าล่างในผู้ป่วยที่มีการสบลึก นอกจากนี้หากเป็นแบร็กเก็ตเซรามิคล้วน จะมีความฝืดสูงระหว่างผิวเซรามิคและลวดเมื่อลวดเลื่อนผ่าน จึงมีการแก้ไขโดยการทำช่องแบร็กเก็ตที่ใส่ลวดเป็นโลหะ
ลวดที่นิยมใช้ในการจัดฟัน มี 2 แบบ คือ
ยางแยกฟัน (Separator) ใช้ในการเตรียมฟันเพื่อใส่เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น โดยยางจะค่อย ๆ ดันฟันหลังซึ่งปกติจะอยู่ชิดกันแน่นให้หลวมขึ้น เพื่อเป็นที่อยู่ของแหวนจัดฟันหรือแบนด์ (Band) เมื่อเริ่มใส่ยางแยกฟัน จะรู้สึกแน่น ๆ เหมือนมีเศษอาหารติด เวลากัดฟันอาจรู้สึกว่ากัดโดนยางเพราะส่วนหนึ่งของยางแยกฟันอยู่บนด้านสบฟัน ถ้ามีอาการปวดหรือแน่นมาก สามารถ ทานยาแก้ปวด เช่น Paracetamol ได้ และการเคี้ยวอาหาร (ที่ไม่เหนียว) ในช่วงแรก ๆ จะกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตที่ปลายรากฟัน ช่วยบรรเทาอาการแน่นหรือปวดได้ อาการปวดจะบรรเทาลง ใน 2-3 วัน ควรเลี่ยงอาหารเหนียวที่จะติดและดึงยางแยกฟันออก และเลี่ยงการใช้ไหมขัดฟันบริเวณนี้ชั่วคราวเพราะยางจะหลุดได้ หากยางแยกฟันหลุดเกินกว่า 3 วันก่อนวันนัดติดแบนด์ ควรติดต่อทันตแพทย์เพื่อใส่ยางให้ใหม่
เครื่องมือขยายขากรรไกรบน (Palatal Expander) ใช้สำหรับขยายขากรรไกรบนที่แคบให้กว้างขึ้น เพื่อให้สัมพันธ์กับขนาดขากรรไกรล่าง และมีเนื้อที่สำหรับเรียงฟันที่ซ้อนเก เครื่องมืออาจเป็นแบบติดแน่นหรือแบบถอดได้ที่มีเครื่องมือขยายขากรรไกรอยู่ ที่กลางเพดานปาก ทันตแพทย์จะแนะนำวิธีไขสกรูที่เครื่องมือเพื่อให้เครื่องมือขยายออก และจำนวนที่ไข เช่นกี่วันต่อครั้ง ผู้ป่วยควรไขสกรูตามที่ทันตแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด หากลืมไขสกรู ห้ามไขเพิ่มจำนวนย้อนหลัง
เพราะการไขสกรูถี่เกินไป อาจเกิดผลเสียได้ และหยุดไขเมื่อครบจำนวน การจดบันทึกการไขสกรูไว้หรือทำเครื่องหมายบนปฏิทินว่าได้ไขสกรูแล้ว จะช่วยเตือนความจำได้ดี
เมื่อเริ่มไขสกรูแรก ๆ อาจมีอาการแน่นบริเวณขากรรไกรบน และจมูก ต่อไปเมื่อขากรรไกรขยายออก อาจจะมีช่องเปิดตรงกลางระหว่างฟันหน้าบน ซึ่งช่องนี้จะค่อย ๆ ปิดเองใน 2-3 เดือน ผู้ป่วยควรรักษาความสะอาดของเครื่องมือด้วยการบ้วนปากหรือแปรงฟันหลังอาหาร ทุกครั้งเพื่อกำจัดเศษอาหาร หากเป็นเครื่องมือถอดได้ควรถอดเครื่องมืออกมาทำความสะอาดทุกครั้งหลังอาหาร
หนังยางดึงฟัน
การเลื่อนฟันบางตำแหน่งในการจัดฟัน ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ โดยการใส่หนังยางดึงฟัน (Elastic) ตามที่ทันตแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดจะทำให้ฟันเลื่อนเข้าที่ได้รวดเร็ว ทันตแพทย์จะแนะนำวิธีใส่หนังยาง ทิศทางและตำแหน่งของหนังยาง รวมทั้งระยะเวลาในการใส่ เช่น ใส่ตลอดเวลา หรือ ใส่เฉพาะบางเวลา ผู้ป่วยควรเปลี่ยนหนังยางทุก 12 – 24 ชั่วโมงหลังใส่ เพราะยางจะล้า หมดแรงดึง ควรใส่หนังยางคืนทันทีหลังทานอาหารและหลังทำความสะอาดฟัน การใส่หนังยางไม่สม่ำเสมอ ฟันจะเลื่อนไปแล้วเลื่อนกลับ ถ้าตะขอที่เกี่ยวหนังยางบิด หรือหัก ให้รีบติดต่อทันตแพทย์ทันที ฟันที่เกี่ยวหนังยางอาจมีอาการเจ็บ ๆ หรือ โยกเล็กน้อย หลังใส่หนังยางเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นปกติ ไม่ต้องกังวล ถ้ามีอาการมากผิดปกติ ให้ติอต่อทันตแพทย์
Headgear เป็นเครื่องมือพิเศษที่ช่วยในการจัดฟัน โดยใช้ดันฟันบนไปข้างหลัง หรือใช้เสริมฟันหลัก ใส่ Headgear ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรืออย่างน้อยวันละ 12-14 ชั่วโมง รวมทั้งเวลานอน ไม่มีการใส่ที่มากเกินไป โดยทั่วไปไม่ควรใส่ Headgear เมื่ออยู่นอกบ้านเพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ไม่ใส่ headgear ขณะวิ่ง หรือเล่นกีฬา ระวังไม่ให้ผู้อื่นดึง Headgear ขณะที่ใส่อยู่
การถอดใส่ Headgear ควรทำอย่างระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เครื่องมือจัดฟันในปากหลุดหลวม หรือตะขอของ Headgear ทิ่มปาก หน้า หรือตาได้ หากเครื่องมือที่ Headgear เกี่ยวอยู่หลุดหรือหลวม ให้หยุดใช้ Headgear แล้วติดต่อทันตแพทย์ทันที Headgear ชนิดที่ดึงด้วยหนังยาง ให้เปลี่ยนยางทุก ๆ 3-4 วัน ฟันที่ Headgear เกี่ยว อาจมีอาการเจ็บ ๆ เล็กน้อยหลังใส่ Headgear เป็นเวลาหลายชั่วโมง ซึ่งเป็นปกติ แสดงว่าฟันเริ่มเคลื่อนที่ พยายามใส่ Headgear สม่ำเสมอต่อไป
การคงความเรียบสวยของฟันทำได้ด้วยใส่เครื่องมือคงสภาพฟันหรือรีเทนเนอร์ (Retainer) ฟันที่เคลื่อนไปสู่ตำแหน่งใหม่จะเลื่อนคืนได้ง่ายเมื่อถอดเครื่องมือจัดฟัน ใหม่ ๆ เพราะสภาพกระดูกและเหงือกหุ้มฟันต้องใช้เวลาในการปรับสภาพเข้ากับตำแหน่ง ใหม่ ดังนั้นหลังถอดเครื่องมือจัดฟันใหม่ ๆ ควรใส่ Retainer ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาทานอาหารหรือแปรงฟัน หรือตามทันตแพทย์แนะนำ หลังจากที่เหงือกปรับสภาพกับตำแหน่งฟันใหม่แล้ว ซึ่งระยะเวลาจะแตกต่างกันในแต่ละคน ทันตแพทย์จะแนะนำวิธีค่อย ๆ ลดเวลาใส่ Retainer อย่าลดเวลาใส่เองเป็นอันขาด การใส่ Retainer ไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ฟันเลื่อนกลับและ Retainer แน่นเมื่อใส่ หากฟันเลื่อนกลับไปมาก จะใส่ Retainer ไม่ลงที่ ต้องทำ Retainer ใหม่ หรือจัดฟันใหม่
เมื่อใส่แรก ๆ จะมีน้ำลายออกมาก และพูดไม่ถนัด เป็นอาการปกติและ จะดีขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อใส่สม่ำเสมอ
ไม่เล่น Retainer ในปาก หรือดัน Retainer ให้หลุดด้วยลิ้น เพราะจะทำให้ Retainer หลวม เมื่อถอด Retainer ออก ต้องใส่ในกล่องที่เตรียมไว้ทันที ห้ามห่อด้วยกระดาษโดยเด็ดขาด เพราะจะสูญหายได้ เขียนชื่อและเบอร์โทรติดต่อ กรณีมีผู้เก็บ Retainer ที่หายไปได้
การทำความสะอาด Retainer ใช้แปรงสีฟันธรรมดาแปรงด้วยยาสีฟันเบา ๆ หรือใช้ยาเม็ดฟู่สำหรับทำความสะอาดฟันปลอมแช่ไว้ขณะทานอาหารที่บ้าน ไม่วาง Retainer ไว้ในที่ที่สัตว์เลี้ยง หรือเด็กเล็กหยิบถึง ถ้า Retainer หายหรือชำรุด แจ้งทันตแพทย์ทันที
เมื่อมีแรงกดที่ฟัน กระดูกบริเวณรากฟันด้านที่ถูกกดจะเกิดการละลายตัว ทำให้ฟันเคลื่อนที่ไปในทิศทางนั้น ส่วนกระดูกด้านตรงข้ามจะเกิดการสร้างเสริมกระดูกใหม่ ขบวนการละลายตัวและเสริมสร้างใหม่ของกระดูกนั้น เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ฟันที่กำลังเคลื่อนอาจมีอาการโยกเล็กน้อยมากกว่าฟันที่อยู่นิ่ง ไม่ถือว่าเป็นพยาธิสภาพ
อาการเจ็บฟันหลังจากปรับเครื่องมือจัดฟันใหม่ ๆ เกิดจากการที่หลอดเลือดถูกกด จากแรงที่ดันฟันซึ่งเป็นการเริ่มต้นของขบวนการทางชีวภาพที่ทำให้ฟันเคลื่อน ไปได้ อาการเจ็บนี้จะบรรเทาลงใน 3-5 วัน ผู้ป่วยสามารถทานยาแก้ปวด เช่น paracetamol เพื่อบรรเทาอาการปวดได้ นอกจากนี้ การเคี้ยวอาหาร (ที่ไม่แข็งเหนียว ที่อาจทำให้เครื่องมือหลุด) ในช่วง 8 ชั่วโมงแรกหลังจากการปรับเครื่องมือ จะเป็นขยับฟันบริเวณที่แรงกด และเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตรอบรากฟัน จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
การสบฟันที่ผิดปกติอาจมีสาเหตุร่วมจากความผิดปกติของขากรรไกร เช่นตำแหน่งหรือขนาดของขากรรไกรบนและล่างไม่สัมพันธ์กัน หากพบความผิดปกติของขากรรไกรในระยะเด็ก อาจให้การแก้ไขด้วยเครื่องมือที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกรได้ (Dentofacial Orthopedics) (ดูหัวข้อเครื่องมือที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกร) ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของขากรรไกรมาก จะทำให้ฟันสบไม่เข้าที่และรูปหน้าดูไม่สมส่วน จะแก้ไขด้วยการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic Surgery) การผ่าตัดมักจะทำเมื่อผู้ป่วยหยุดการเจริญเติบโตแล้ว โดยอาจผ่าตัดที่ขากรรไกรเดียว หรือทั้งสองขากรรไกร และอาจผ่าตัดเสริมที่คางได้ด้วย
เริ่มจากตรวจการสบฟัน พิมพ์ปาก และเอ็กซ์เรย์เหมือนการจัดฟันทั่วไป แต่เมื่อทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทางทันตกรรมวินิจฉัยว่าความผิดปกติมีสาเหตุ มาจากกระดูกขากรรไกร ทันตแพทย์จะแนะนำทางเลือกที่เป็นการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร หากผู้ป่วยสนใจแผนการรักษาร่วมกับการผ่าตัด ควรนัดปรึกษากับทันตแพทย์ผู้ที่จะทำการผ่าตัด (Oral Surgeon) เพื่อวางแผนการรักษา ประเมินค่าใช้จ่าย ตลอดจนซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินในการเลือกแผนการรักษา
การรักษาด้วยการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้คือ
ท่านสามารถติดต่อสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย ผ่านทางแอพพลิเคชั่น LINE ได้ที่นี่
สำหรับทันตแพทย์ (LINE ID: @thaiortho)
สำหรับประชาชนทั่วไปที่ต้องการปรึกษาหรือสอบถามเรื่องการจัดฟัน (LINE ID: @judfunthai)
หน่วยทันตกรรมจัดฟันสัญจรเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ต้องการอาสาสมัครทันตแพทย์จัดฟันที่มีจิตอาสามาร่วมให้การรักษาด้านทันตกรรมจัดฟันแก่ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่
ผู้สนใจ สามารถสมัครได้ที่ :
รศ. (พิเศษ) สมใจ สาตราวาหะ 08-6354-1889 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 17.00 น. ยกเว้นวันอาทิตย์ หรือ
ทพญ.ฐิฏิมา ศุขเขษม สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย
02-2517853 ต่อ 1303-1306
11 - 12 July, 2019
ThaAO Scientific Conference 01/2019: Development of Expertise in Orthodontics
29 - 30 October, 2019
ThaAO 02/2019: Broadening Your Horizons in Orthodontics
โครงการประกวดหนังสั้น สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย
7 - 8 December, 2019
2019 Taiwan Association of Orthodontists (TAO) Annual Meeting in Taichung